การประกันภัยทางทะเลเป็นการประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล
และยังขยายของเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบกซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย
ประเภทของการประกันภัยทางทะเล
1. การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล (Cargo Marine Insurance )การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลคุ้มครองการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยทางเรือ, ทางอากาศหรือทางบก
2.การประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ( Inland Transit )การประกันภัยการขนส่งภายในประเทศคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยไฟไหม้, การระเบิด, การชนหรือการคว่ำระหว่างการขนส่งภายในประเทศไทยั
3. การประกันภัยตัวเรือ ( Hull Marine Insurance )การประกันภัยตัวเรือคุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือที่เอาประกันเนื่องจากอุบัติเหตุ
ต่างๆเช่นลมพายุ, การชน, การเกยตื้นเป็นการคุ้มครองความเสียหายต่อเรือจากอุบัติเหตุต่างๆอาทิ ลมพายุ เรือเกยตื้นเรือโดนกันการชนหินโสโครกเป็นต้น
ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์
1. ภัยทางทะเล (Peril of the sea) เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน และเรือเกยตื้น
2. อัคคีภัย (Fire) ได้แก่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้แต่ต้องไม่เกิดจากความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเองหรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของสินค้าอันเนื่องมาจากธรรมชาติ
3. การทิ้งทะเล(Jettisons) หมายถึง การเอาของทิ้งทะเลเพื่อให้เรือเบาลง
4. โจรกรรม (Thieves) หมายถึง การโจรกรรมอย่างรุนแรงโดยการใช้กำลังเพื่อช่วงชิงทรัพย์
5. การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ(Barratry) หมายถึงการกระทำโดยมิชอบของคนเรือโดยเจตนากลั่นแกล้งทุจริตตั้งแต่นายเรือจนกระทั่งถึงลูกเรือในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและการกระทำนั้นต้องปราศจากการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าของทรัพย์
เงื่อนไขและขอบเขตความคุ้มครองในการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
มีเงื่อนไขความคุ้มครอง 3แบบที่เป็นที่นิยมกัน
INSTITUTE CARGO CLAUSES (A) หรือICC(A)
INSTITUTE CARGO CLAUSES (B) หรือ ICC (B)
INSTITUTE CARGO CLAUSES (C) หรือ ICC (C)
ซึ่งได้กำหนดขอบเขตความเสี่ยงภัยที่คุ้มครองดังนี้
ความคุ้มครองมาตรฐานในการประกันภัยการขนส่งทางทะเลคุ้มครอง |
ICC (A) |
ICC (B) |
ICC (C) |
เพลิงไหม้, ระเบิด |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
เรือเกยตื้น, ล่ม, จมหรือตะแคงเรือชนกันเรือโดนกัน |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ยานพาหนะทางบกพลิกคว่ำหรือตกจากรางหรือชนกัน |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ยานพาหนะหรือเรือชนหรือปะทะกับวัตถุอื่นใด |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
การขนส่งสินค้าลงจากเรือท่าหลบภัย |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ความเสียหายหรือสูญเสียของส่วนรวม GeneralAverage |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
สินค้าถูกโยนทิ้งทะเล (Jettison) ในขณะที่เรือประสบภัยกลางทะเล |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ค่ากู้เรือและค่ากู้สินค้า (Sue &Labour Charge) |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ค่าจัดส่งสินค้าต่อไปยังจุดหมายปลายทาง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิดหรือฟ้าผ่า |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
สินค้าถูกน้ำทะเลซัดตกจากเรือ
สินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงทั้งหีบห่อที่เกิดขึ้นในขณะ
ทำการขนสินค้าขึ้นหรือลงจากเรือหรือระหว่างการ |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
เปลี่ยนถ่ายลำเรือ
ความเสียหายจากน้ำทะเลหรือจากแม่น้ำ, ทะเลสาบ
หรือน้ำในแม่น้ำเข้าระวางเรือหรือตู้บรรจุสินค้า(Container)
|
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
หรือน้ำในแม่น้ำท่วมเข้าสถานที่เก็บสินค้า |
คุ้มครอง |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
สินค้าได้รับความเสียหายจากเปียกน้ำฝน |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
การกระทำโดยเจตนาร้ายของบุคคลอื่น |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
การถูกปล้นโดยโจรสลัด |
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
สินค้าถูกลักขโมย
ความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอา
ประกันภัยอันเกิดจากภัยทุกอย่างที่มีสาเหตุจาก
ภายนอกและเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายเช่นการแตก
หักร้าวฉีกขาดการปนเปื้อนกับวัตถุหรือสินค้าอื่น
|
คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
ไม่คุ้มครอง |
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B)
ICC (A) ระบุให้ความคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายจากภัยทุกชนิดยกเว้นภัยที่ระบุไว้ในข้อยกเว้นภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (A)
แม้ว่าเงื่อนไขความคุ้มครองตาม Institute Cargo Clauses (A) จะระบุความคุ้มครองแบบ All Risks ก็ตามแต่ก็มีความเสี่ยงภัย
หรือลักษณะความเสียหายบางอย่างที่ถูกยกเว้นไม่ให้ความคุ้มครองโดยได้กำหนดและระบุไว้เป็นข้อกำหนดอย่างชัดเจนภายใต้
General Exclusions Clause ดังนี้
ไม่ว่ากรณีใดก็ตามการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญเสียเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอ้นเนื่องจาก/ที่เกิดจาก
1. การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย
2. การรั่วไหลไปตามปกติการขาดหายตามปกติของปริมาณหรือน้ำหนักหรือการสึกหรอและสึกกร่อนตามปกติ
3. ความสูญหายเสียหายหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบรรจุหีบห่อหรือการจัดเตรียมวัตถุแห่งการประกันภัยที่ไม่เพียงพอ
หรือไม่เหมาะสมการบรรจุหีบห่อ หมายรวมถึงการจัดวางในตู้ลำเลียงหรือตู้ยกในกรณีที่การจัดวางนั้นกระทำก่อนที่จะเริ่มความคุ้มครองหรือกระทำโดยผู้เอาประกันภัยเอง
4. ข้อเสียในตัวเองหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย
5. การล่าช้าแม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม
6. การล้มละลายหรือการไม่สามารถใช้หนี้สินไม่ว่าของเจ้าของเรือ, ผู้เช่าเหมาเรือหรือผู้ดำเนินการเดินเรือหรือตัวแทนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่กล่าวมา
7. การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัวหรือการหลอมตัวของปรมาณูหรือผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี
8.เรือหรือยานไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเลหรือเรือยานยวดยานตู้ลำเลียงหรือตู้ยกที่จะใช้ในการบรรทุกสินค้าไม่พร้อมสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอโดยที่ผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย(Unseaworthtness&UnfitnessExclusion Clause)
9. ข้อยกเว้นภัยสงคราม (War Exclusion Clause)
.1สงครามสงครามกลางเมืองการปฏิวัติกบฏแข็งข้อหรือการต่อสู้ของประชาชนที่เกิดจากการดังกล่าวหรือการกระทำเป็นปฏิปักษ์ซึ่งกระทำต่อหรือถูกกระทำโดยชาติอำนาจที่เป็นศัตรู
.2 การถูกจับกุมถูกยึดถูกกุมกักกันหรือหน่วงเหนี่ยว (ยกเว้นการกระทำการเป็นโจรสลัด) และผลใดๆของการนั้นๆหรือ
ความพยายามใดๆที่จะกระทำการดังกล่าว
.3 การถูกทิ้งทุ่นระเบิดตอร์ปิโดระเบิดหรืออาวุธสงครามอื่นใด
10. ข้อยกเว้นภัยนัดหยุดงาน (Strikes Exclusion Clause)
.1 คนงานที่นัดหยุดงาน, คนงานที่ถูกปิดงาน, หรือบุคคลที่มีส่วนร่วมในการก่อความไม่สงบทางแรงงาน
.2 การจลาจลหรือการก่อความวุ่นวานโดยฝูงชนอันเป็นผลจากการนัดหยุดงานการปิดงานความไม่สงบทางแรงงาน
.3 การก่อความวุ่นวายโดยฝูงชนอันเกิดจากการก่อการร้ายหรือการกระทำไม่ว่าจะของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B)
Institute Cargo Clauses (B) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก Institute Cargo Clauses (A) คือ
ICC (A) ระบุให้คุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีสาเหตุจากภายนอกพร้อมกับกำหนดยกเว้นภัยบางประเภทไว้เท่านั้นแต่
ICC (B) ระบุภัยที่คุ้มครองและสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจนความสูญเสียหรือเสียหายอันเนื่องจากหรือมีสาเหตุ
จากภัยที่ไม่ได้ระบุไว้จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
นอกจากนั้น I.C.C. (B) ยังได้แยกความคุ้มครองออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1.คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิด
ความเสียหายภัยที่คุ้มครองได้แก่
1.1 อัคคีภัยหรือการระเบิด
1.2 เรือหรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้นเกยพื้นจมหรือพลิกคว่ำ
1.3 การคว่ำหรือตกรางของยานพาหนะทางบก
1.4 การชนหรือการโดยกันของเรือยวดยานหรือยานพาหนะกับวัตถุภายนอกใดๆก็ตามนอกเหนือจากกับน้ำ
1.5 การขนถ่ายสินค้าลงที่ท่าใช้หลบภัย
1.6 แผ่นดินไหวการระเบิดของภูเขาไฟหรือฟ้าผ่า
2. ความสูญเสียหรือเสียหายจะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ได้แก่
2.1 การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม
2.2 การถูกทิ้งทะเลหรือการถูกน้ำซัดตกจากเรือไป
2.3 การที่น้ำทะเลน้ำทะเลสาบหรือน้ำในแม่น้ำเข้ามาในระวางเรือหรือยวดยานหรือเข้ามาในตู้ลำเลียง, ตู้ยกหรือสถานที่เก็บวางสินค้า
3. ความสูญเสียโดยสิ้นเชิงของหีบห่อใดซึ่งตกจากเรือหรือตกลงมาในขณะขนขึ้นหรือขนลงจากเรือหรือยวดยาน
ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B)
แม้ว่าเงื่อนไขความคุ้มครองตาม Institute Cargo Clauses (B) จะระบุภัยที่ให้ความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตามแต่ก็ได้กำหนดและระบุสาเหตุหรือลักษณะความเสียหายบางอย่างที่จะถูกยกเว้นไม่ให้ความคุ้มครองไว้เป็นข้อกำหนดอย่างชัดเจนภายใต้General Exclusions Clause ดังนี้
ไม่ว่ากรณีใดก็ตามการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญเสียเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอ้นเนื่องจาก/ที่เกิดจาก
1. การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย
2. การรั่วไหลไปตามปกติ, การขาดหายตามปกติของปริมาณหรือน้ำหนักหรือการสึกหรอและสึกกร่อนตามปกติ
3. การบรรจุหีบห่อหรือการจัดเตรียมที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมในวัตถุแห่งการประกันภัย
4. ข้อเสียในตัวเองหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย
5. การล่าช้าแม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม
6. การล้มละลายหรือการไม่สามารถใช้หนี้สินไม่ว่าของเจ้าของเรือ, ผู้เช่าเหมาเรือหรือผู้ดำเนินการเดินเรือหรือตัวแทนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่กล่าวมา
7. การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัวหรือการหลอมตัวของปรมาณูหรือผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี
8. เรือหรือยานไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเลหรือเรือยานยวดยานตู้ลำเลียงหรือตู้ยกที่จะใช้ในการบรรทุกสินค้าไม่พร้อมสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอโดยที่ผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย(Unseaworthtness& Unfitness ExclusionClause)
9. การทำความเสียหายโดยเจตนาหรือการทำลายโดยเจตนาต่อวัตถุแห่งการประกันภัยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในวัตถุแห่งการประกันภัยโดยการกระทำที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะโดยบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือหลายบุคคลก็ตาม (ข้อแตกต่างจาก ICC (A))
10. ข้อยกเว้นภัยสงคราม (War Exclusion Clause)
10.1 สงครามสงครามกลางเมืองการปฏิวัติกบฏแข็งข้อหรือการต่อสู้ของประชาชนที่เกิดจากการดังกล่าวหรือการกระทำเป็นปฏิปักษ์ซึ่งกระทำต่อหรือถูกกระทำโดยชาติอำนาจที่เป็นศัตรู
10.2 การถูกจับกุมถูกยึดถูกกุมกักกันหรือหน่วงเหนี่ยว (ยกเว้นการกระทำการเป็นโจรสลัด) และผลใดๆของการนั้นๆหรือ
ความพยายามใดๆที่จะกระทำการดังกล่าว
10.3 การถูกทิ้งทุ่นระเบิดตอร์ปิโดระเบิดหรืออาวุธสงครามอื่นใด
11. ข้อยกเว้นภัยนัดหยุดงาน (Strikes Exclusion Clause)
11.1 คนงานที่นัดหยุดงาน, คนงานที่ถูกปิดงาน, หรือบุคคลที่มีส่วนร่วมในการก่อความไม่สงบทางแรงงาน
11.2 การจลาจลหรือการก่อความวุ่นวานโดยฝูงชนอันเป็นผลจากการนัดหยุดงานการปิดงานความไม่สงบทางแรงงาน
11.3 การก่อความวุ่นวายโดยฝูงชนอันเกิดจากการก่อการร้ายหรือการกระทำไม่ว่าจะของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (C)
Institute Cargo Clauses (C) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก I.C.C. (A) เช่นเดียวกับ I.C.C (B) คือระบุภัยที่คุ้มครองและสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจนความสูญเสียหรือเสียหายอันสืบเนื่องจากหรือมีสาเหตุจากภัยที่ไม่ได้ระบุไว้
จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
แต่I.C.C. (C) ให้ความคุ้มครองที่แคบกว่า I.C.C. (B) โดยแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1 คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความเสียหายภัยที่คุ้มครองได้แก่
1.1 อัคคีภัยหรือการระเบิด
1.2 เรือหรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้นเกยพื้นจมหรือพลิกคว่ำ
1.3 การคว่ำหรือตกรางของยานพาหนะทางบก
1.4 การชนหรือการโดนกันของเรือยวดยานหรือยานพาหนะกับวัตถุภายนอกใดๆก็ตามนอกเหนือจากกับน้ำ
2 ความสูญเสียหรือเสียหายจะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ได้แก่
2.1 การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม (General Average Sacrifice)
2.2 การถูกทิ้งทะเล
ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (C)
แม้ว่าเงื่อนไขความคุ้มครองตาม Institute Cargo Clauses (C) จะระบุภัยที่ให้ความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม
แต่ก็ได้กำหนดและระบุสาเหตุหรือลักษณะความเสียหายบางอย่างที่จะถูกยกเว้นไม่ให้ความคุ้มครองไว้เป็นข้อกำหนดอย่างชัดเจน
ภายใต้General Exclusions Clause ดังนี้
ไม่ว่ากรณีใดก็ตามการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญเสียเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอ้นเนื่องจาก/ที่เกิดจาก
1. การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย
2. การรั่วไหลไปตามปกติ, การขาดหายตามปกติของปริมาณหรือน้ำหนักหรือการสึกหรอและสึกกร่อนตามปกติ
3. การบรรจุหีบห่อหรือการจัดเตรียมที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมในวัตถุแห่งการประกันภัย
4. ข้อเสียในตัวเองหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย
5. การล่าช้าแม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม
6. การล้มละลายหรือการไม่สามารถใช้หนี้สินไม่ว่าของเจ้าของเรือ, ผู้เช่าเหมาเรือหรือผู้ดำเนินการเดินเรือ
หรือตัวแทนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่กล่าวมา
7. การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัวหรือการหลอมตัวของปรมาณูหรือผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี
8. เรือหรือยานไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเลหรือเรือยานยวดยานตู้ลำเลียงหรือตู้ยกที่จะใช้ในการบรรทุกสินค้าไม่พร้อมสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอโดยที่ผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย(Unseaworthtness& Unfitness ExclusionClause)
9. การทำความเสียหายโดยเจตนาหรือการทำลายโดยเจตนาต่อวัตถุแห่งการประกันภัยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในวัตถุแห่งการประกันภัยโดยการกระทำที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะโดยบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือหลายบุคคลก็ตาม (ข้อแตกต่างจาก ICC (A))
10. ข้อยกเว้นภัยสงคราม (War Exclusion Clause)
10.4 สงครามสงครามกลางเมืองการปฏิวัติกบฏแข็งข้อหรือการต่อสู้ของประชาชนที่เกิดจากการดังกล่าว
หรือการกระทำเป็นปฏิปักษ์ซึ่งกระทำต่อหรือถูกกระทำโดยชาติอำนาจที่เป็นศัตรู
10.5 การถูกจับกุมถูกยึดถูกกุมกักกันหรือหน่วงเหนี่ยว (ยกเว้นการกระทำการเป็นโจรสลัด) และผลใดๆของการนั้นๆ
หรือความพยายามใดๆที่จะกระทำการดังกล่าว
10.6 การถูกทิ้งทุ่นระเบิดตอร์ปิโดระเบิดหรืออาวุธสงครามอื่นใด
11. ข้อยกเว้นภัยนัดหยุดงาน (Strikes Exclusion Clause)
11.4 คนงานที่นัดหยุดงาน, คนงานที่ถูกปิดงาน, หรือบุคคลที่มีส่วนร่วมในการก่อความไม่สงบทางแรงงาน
11.5 การจลาจลหรือการก่อความวุ่นวานโดยฝูงชนอันเป็นผลจากการนัดหยุดงานการปิดงานความไม่สงบทางแรงงาน
11.6 การก่อความวุ่นวายโดยฝูงชนอันเกิดจากการก่อการร้ายหรือการกระทำไม่ว่าจะของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองตามเงื่อนไขความคุ้มครองมาตรฐาน Institute Cargo Clauses |
Institute C Institute Cargo Clauses |
(A) |
(B) |
(C) |
การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย |
x |
X |
x |
การรั่วไหล, การขาดหายหรือการสึกหรอ/สึกกร่อนตามปกติ |
x |
x |
x |
การบรรจุหีบห่อหรือการจัดเตรียมที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม |
x |
x |
x |
ข้อเสียหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย |
x |
x |
x |
การล่าช้าแม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม |
x |
x |
x |
การล้มละลายหรือการไม่สามารถใช้หนี้สินของเจ้าของเรือผู้เช่าเหมาเรือหรือผู้ดำเนินการเดินเรือ |
x |
x |
x |
การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัวหรือการหลอมตัวของปรมาณูหรือผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี |
x |
x |
x |
เรือหรือยานพาหนะไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเลหรือบรรทุกสินค้าหรือไม่พร้อมสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอ |
x |
x |
x |
ภัยสงคราม |
x |
x |
x |
ภัยจลาจลการนัดหยุดงาน
การทำความเสียหายหรือทำลายโดยเจตนาต่อวัตถุแห่งการประกันภัยโดยการกระทำที่ผิด |
x |
x |
x |
กฎหมายจากบุคคลอื่น |
|
x |
x |
2. เงื่อนไขมาตรฐานเรือ
การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันยังนิยมใช้การขนส่งทางเรือกันเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากสามารถขนส่งสินค้าได้เป็นจำนวนมากและค่าขนส่งยังจัดว่ามีราคาที่ไม่สูงมากดังเช่นการขนส่งสินค้าประเภทอื่นๆดังนั้นการพิจารณารับประกันภัยจึงให้ความสำคัญต่อคุณภาพของเรือเดินทะเลเป็นอันดับแรกโดยปกติบริษัทประกันภัยมักยินดีรับประกันภัยสินค้าที่บรรทุกโดยเรือเดินสมุทรที่มีการรับรองจากสถาบันมาตรฐานเรือ(Classification Societies) สถาบันใดสถาบันหนึ่งดังนี้
- Lloyds Register
- American Bureau
- Bureau Veritas
- China Classification Society
- Germanischer Lloyd
- Korean Register
- Maritime Register of Russia
- Nippon KaijiKyokai
- Norske Veritas
- RegistroItaliano
และมีการกำหนดว่าเรือเดินทะเลนั้นจะต้อง
-เป็นเรือซึ่งประกอบด้วยเหล็กและมีการขับเคลื่อนด้วยตัวเองและต้องเป็นสมาชิกของ TheInternational Association of Classification
Society (IACS) หรือ Flag Society แล้วแต่กรณี
-ไม่เป็นเรือสินค้าประเภทเทกองหรือเรืออเนกประสงค์ที่มีอายุเกินกว่า 10 ปีหรือเป็นเรือประเภทอื่นซึ่งมีอายุเกินกว่า 15 ปีเว้นแต่ว่า
¨ หากเป็นเรือบรรทุกสินค้าทั่วไปและประกอบธุรกิจการเดินเรือเป็นปกติซึ่งต้องมีการประกาศโฆษณาตารางการเดินเรือที่แน่นอน
โดยระบุท่าเรือที่รับส่งสินค้าอย่างชัดเจนและต้องเป็นเรือที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
¨ หากเป็นเรือที่บรรทุกตู้สินค้า (Container) หรือเป็นเรือประเภท Double-skin open-hatchgantry crane (OHGCs)
และประกอบธุรกิจการเดินเรือเป็นปกติต้องมีการประกาศโฆษณาตารางการเดินเรือที่แน่นอนโดยระบุท่าเรือที่รับส่งสินค้าอย่างชัดเจน
และต้องเป็นเรือที่มีอายุไม่เกิน 30 ปี
ในกรณีที่มีการใช้เรือเดินทะเลที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ดังข้างต้นบริษัทประกันภัยอาจจะไม่พิจารณารับประกันภัย
หรือหากมีการพิจารณารับประกันภัยก็อาจจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเรือเก่าเป็นการเพิ่มเติมเนื่องจากมีความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้นจากปกติ
3. ระยะเวลาการคุ้มครอง
สัญญาประกันภัยการขนส่งสินค้าจะเริ่มต้นเมื่อสินค้าเคลื่อนออกจากโกดังหรือสถานที่เก็บสินค้าณสถานที่ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ประกันภัยเมื่อเริ่มเดินทางและให้ความคุ้มครองต่อเนื่องตลอดการขนส่งตามปกติและสิ้นสุดเมื่อ
1. ส่งถึงโกดังของผู้รับสินค้าหรือโกดังปลายทางหรือสถานที่เก็บสินค้าณปลายทางที่ระบุไว้
2. ส่งถึงโกดังหรือสถานที่เก็บสินค้าอื่นณปลายทางที่ระบุไว้ซึ่งผู้เอาประกันภัยเลือกใช้เป็น
2.1. ที่เก็บสินค้านอกเหนือเส้นทางขนส่งตามปกติหรือ
2.2. ที่จัดสรรหรือแจกจ่ายสินค้า
3. เมื่อครบ 60 วันหลังจากขนสินค้าลงจากเรือเดินทะเลณท่าปลายทางหรือเมื่อครบ 30 วันหลังลงจากขนสินค้าลงจากเครื่องบินแล้วแต่ว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดก่อนก็จะสิ้นสุดความคุ้มครองณ. เวลานั้น
4. เอกสารในการออกกรมธรรม์
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการออกกรมธรรม์ประกันภัย
กรณีส่งออก
1. Invoice (ใบกำกับสินค้า)
2. Bill of Lading (B/L) (ใบตราส่ง) หรือใบMasterAirway Bill (MAWB) กรณีเดินทางมาทางเครื่องบิน
3. Packing List (เอกสารแสดงหีบห่อสินค้า) (ถ้ามี)
4. Letter of Credit (L/C)
กรณีนำเข้า
1. Pro Forma Invoice/Invoice (ใบกำกับสินค้า)
2. Bill of Lading (B/L) (ใบตราส่ง) หรือใบMasterAirway Bill (MAWB) กรณีเดินทางมาทางเครื่องบิน
3. Packing List (เอกสารแสดงหีบห่อสินค้า) (ถ้ามี)